Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Education > TCAS > บทความ
จิตใจเปราะบาง

  Favorite

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เด็กจะมีอารมณ์ละเอียดอ่อน อ่อนไหวง่าย ต่อคำพูด ท่าทีการแสดงออกของคนรอบข้าง โดยเฉพาะคนใกล้ชิดซึ่งเป็นคนที่มีความสำคัญต่อชีวิตเขา คือ พ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อน และแฟน วัยรุ่นโดยทั่วไปเมื่อถูกกระตุ้นอารมณ์ ถูกขัดใจ หรืออยู่ในภาวะที่เครียดและกดดันทางอารมณ์ จะไม่แสดงออกมากเกินไปจนทำให้มีปัญหาความสัมพันธ์กับผู้อื่น และไม่มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนของตนเอง

อย่างไรก็ตามมีวัยรุ่นประเภทหนึ่งที่มีความเปราะบางทางจิตใจ หวั่นไหวง่าย ต่อการแสดงออกของผู้อื่นมากกว่าปกติ เมื่อมีสิ่งใดมากระทบความรู้สึก จิตใจของตนเอง เด็กจะหวั่นไหวทางจิตใจ เกิดความรู้สึกภายในใจมากกว่าคนอื่นๆ ชนิดที่เรียกว่า นิดหน่อยก็กระทบกระเทือนใจไม่ได้ เช่น เด็กจะเก็บเอาคำพูด ท่าที การแสดงออกของคนอื่น เก็บเอาสิ่งต่างๆ รอบตัว คิดไปในทางลบ จนทำให้ตนเองไม่สบายใจ ไม่มีความสุขในชีวิต เมื่อเกิดปัญหาคับข้องใจ หรือเผชิญกับความทุกข์ยาก เด็กจะอดทนต่อความทุกข์ยากได้อย่างลำบาก จะเกิดความรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง หลีกหนีต่อปัญหา เพื่อให้ตนเองสบายใจ รู้สึกว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นทำให้เขาเกิดความทุกข์ทรมานในใจ รู้สึกตนเองไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัย และไม่มั่นใจในตนเอง

คนใกล้ชิดมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือให้วัยรุ่นเกิดความมั่นคง ทางจิตใจ และรู้สึกปลอดภัยได้ ดังนี้
1.) ต้องเข้าใจว่าเขาเป็นคนละเอียดอ่อน อ่อนไหวง่ายทางอารมณ์ ให้ความสนใจความรู้สึกอารมณ์ของเขา
2.) รับฟังเขาอย่างเข้าใจ หากเขาพูดคุยระบายอารมณ์ความทุกข์ใจไม่สบายใจ ไม่ตำหนิต่อว่าเขา ว่ารู้สึกเกินกว่าเหตุ
3.) พูดคุยด้วยคำพูดและน้ำเสียงนุ่มนวล หรือพูดโดยไม่ใช้อารมณ์กับวัยรุ่น ไม่ใช้คำพูดที่กระตุ้นอารมณ์หรือบั่นทอนจิตใจเขา ทำให้เขาไม่สบายใจ
4.) ให้กำลังใจแก่เขา ใช้คำพูดที่ทำให้เขาเกิดพลัง เพื่อให้เขาเกิดความมั่นคงทางจิตใจและมีความมั่นใจตนเอง กล้าที่จะเผชิญกับสิ่งต่างๆในชีวิต

วัยรุ่นสามารถดูแลจิตใจตนเอง ดังนี้
1.) รู้จักสังเกตอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในใจของตนเอง ถึงความไม่มั่นคงทางจิตใจ เมื่อรู้สึกเกิดความหวั่นไหวทางจิตใจ ที่มันเปลี่ยนแปลงไปจากการเดิม จากการถูกระทบกระเทือนจิตใจ
2.) จัดการความรู้สึกของตนเองให้เกิดความสบายใจ ด้วยการปลอบใจตนเอง ให้กำลังใจตนเอง ผ่อนลมหายใจเข้าออกอย่างลึก ๆ ช้าๆ จนเกิดความสบายใจ
3.) หยุดความคิดทางลบ เพราะการคิดทางลบจะทำให้ไม่สบายใจ ดังนั้นพยายามคิดในแง่บวก จะทำให้ตนเองสบายใจขึ้นบ้างและพยายามมองส่วนที่ดีๆภายในตนเอง จึงจะช่วยเป็นกำลังใจแก่ตนเอง

 

โดย: จุฬาลักษณ์ รุ่มวิริยะพงษ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Tags
Posted by
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
ข่าวค่ายและกิจกรรม
ข่าวรับตรงล่าสุด
Follow us